แบบฝึกหัดบทที่5 เรื่อง เอกภพ

1. เพราะเหตุใด นักดาราศาสตร์ส่วนใหญ่จึงเห็นด้วยกับทฤษฎีบิกแบง ที่ใช้อธิบายกำเนิดเอกภพ
ตอบ       ทฤษฎีบิกแบงมีหลักฐานหรือปรากฏการณ์ที่สนับสนุนอยู่ 2 อย่าง
1)    การขยายตัวของเอกภพ
2)   อุณหภูมิพื้นหลังของเอกภพ ปัจจุบันลดลงเหลือ 2 - 73 เคลวิน
จากหลักฐานทั้ง 2 ข้อ จึงทำให้นักดาราศาสตร์เห็นด้วยกับทฤษฎีบิกแบ

2. ธาตุอะไรมีมากที่สุดในเอกภพ
ตอบ  ธาตุที่มีมากที่สุดในเอกภพคือ ธาตุไฮโดรเจน

3. เอกภพประกอบด้วยระบบอะไรบ้าง
ตอบ  เอกภพประกอบด้วยระบบสุริยะและระบบกาแล็กซี

4. เอกภพเมื่ออายุประมาณ 300,000 ปี มีธาตุอะไรบ้างเป็นองค์ประกอบสำคัญ
ตอบ  ธาตุไฮโดรเจน และธาตุฮีเลียม

5. กาแล็กซีคืออะไร และเคลื่อนที่อย่างไร
ตอบ    กาแล็กซี คือ อาณาจักรหรือระบบของดาวฤกษ์จำนวนนับแสนล้านดวงอยู่รวมกันด้วยแรงโน้มถ่วง
ระหว่างดวงดาวกับหลุมดำที่มีมวลมหาศาล ซึ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางของกาแล็กซี โดยมีเนบิวลาซึ่งเป็นกลุ่มแก๊สและฝุ่นละออง
ที่เกาะกลุ่มอยู่ในที่ว่างบางแห่งระหว่างดาวฤกษ์ กาแล็กซีมีการเคลื่อนที่โดยหมุนรอบตัวเอง

6. กาแล็กซีทางช้างเผือกมีระยะจากขอบหนึ่งผ่านจุดศูนย์กลางไปยังอีกขอบหนึ่งประมาณ 100,000 ปีแสง คิดเป็นระยะกี่กิโลเมตร
ตอบ    1 ปีแสง คิดเป็นระยะทางประมาณ        =        9.5 × × 1012                    กิโลเมตร
            105 ปีแสง คิดเป็นระยะทางประมาณ    =        9.5 × × 1012 × × 105        กิโลเมตร
            ดังนั้น คิดเป็นระยะทาง                          =        9.5 × × 1017                     กิโลเมตร

7. ทางช้างเผือกกับกาแล็กซีทางช้างเผือก ต่างกันอย่างไร
ตอบ        ทางช้างเผือก เกิดจากดาวฤกษ์หลายหมื่นล้านดวงที่มาอยู่รวมกัน เห็นเป็นแนวฝ้าขาวจางๆ
ขนาดกว้างประมาณ 15 พาดผ่านเป็นทางยาวรอบท้องฟ้ากาแล็กซีทางช้างเผือก ประกอบด้วยดาวฤกษ์ 200,000 ล้านดวง
และเมฆฝุ่นกับแก๊สที่เรียกว่า เนบิวลา รวมทั้งระบบสุริยะ ทางช้างเผือกเป็นส่วนหนึ่งของกาแล็กซีทางช้างเผือก

8. กาแล็กซีแมกเจลแลนใหญ่แตกต่างจากกาแล็กซีแอนโดรเมดาอย่างไรบ้าง
ตอบ     กาแล็กซีแมกเจลแลนใหญ่ จะโคจรรอบทางช้างเผือกที่ระยะห่างประมาณ 200,000 ปีแสง
เป็นกาแล็กซีแบบไร้รูปทรงหรือมีรูปร่างไม่แน่นอน มีความสว่างมากจนสามารถมองเห็นได้คล้ายกับก้อนเมฆในยามค่ำคืน
อยู่ใกล้ขอบฟ้าทิศใต้ เป็นกาแล็กซีที่อยู่ใกล้เราที่สุด
            กาแล็กซีแอนโดรเมดา มองเห็นอยู่ในบริเวณท้องฟ้าทางเหนือ มีรูปร่างแบบกังหัน เหมือนกาแล็กซีทางช้างเผือก
กาแล็กซีแอนโดรเมดาอยู่ห่างจากกาแล็กซีทางช้างเผือกของเราไกลประมาณ 2 ล้านปีแสง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า M31 หรือ NGC 224
                                                                            ^..............................................^