Story of Lesson 1-3

โครงสร้างโลก

Structure in the study of the world. Wave analysis was used. Wave of primary and secondary waves. The waves in the medium. The properties of the P waves can pass through an intermediary not only s-wave state is solid

Division of the world

1. Lithosphere in the world with a depth of 100 km of rocks have properties of solid 2. Asthenosphere can be divided into two areas? - Moving the lower shock wave speed and s p are the plastic properties of rocks? - The area has changed. Seismic velocity increases in the rate is not uniform?

2. Associate Sphere. Below the asthenosphere. Seismic velocity increases regularly. Because of the solid rock, and 4. The Earth's outer layer. So, under the Sphere. P wave s wave speed increases because the state can not pass through the liquid 5. Greats in the world. At a depth of 5140 km p-wave and s are relatively constant rate. Because the Earth's core in a solid.

The structure of the physical components 1. Tectonics. The outer crust is divided into continents. And oceanic crust. Boundary between the crust and mantle, which is broken by Fiona's rock Online. Ho Ro Mo or demarcation line in Leipzig


3. Mantle. Mantle rocks on the ultrasound, may figure. The bottom is a stone that can withstand the pressure and temperature conditions, 3. Earth's core. Can not be specified. It requires knowledge of the theory of the origin in the solar system
โลกและการเปลี่ยนแปลง

And the Dr. Alfred Wegener was hypothesized that The land was originally the same as the thousands of Georgia and is divided into two parts: the Sierra for a Laurel, North Greenland and North America with Eurasia and the USA are increasing Wanaka, South Africa, Australia, India, Madagascar.


That shows that the world has ever combined into one.
 1. Evidence of the boundaries of the continent.
 2. Evidence of the similarity of the rocks and the mountains.
 3. Evidence of rocks caused by the accumulation of sediment from the glaciers.
 4. The evidence of fossils

The resulting motion of the Earth? Of heat transfer in the world. The solid crust covering the bottom of the ocean ridge. The hot water flows up. When water temperatures dropped to a very dense layer and into the mantle at subduction trenches beneath the sea. Hot water circulation circuit is called. Heat cycle?
The motion of the Earth
1. The earth moving apart due to the pressure of the hot water in the Earth. Bend to the earth. The balance will be stretched and thinner. Born with a crack and fell down. The Earth will melt into a sedimentary rock. Max
2. The Earth moves together. - The Earth collided with the Earth ocean ocean When the Earth moves toward the ocean. The aged. Density much lower temperature, causing subduction trenches. The upper plate has a low melting point. Some have become magma
The Earth Ocean Earth collided with a continent. The Earth's oceans is a very dense rock into the Earth beneath the continents. Cause it to curve into the mountains on the Earth Europe - a geographical continent collided with the Earth Europe on a collision will occur as the high mountains along the length of the continent. 3 The earth moves through or cut the cycle of convection and pressure of the underwater ridge. As a result, the Earth moves and slash through it. Marks a transcript form

Changes in the crust:

1. Stratigraphy of the arc. Change the properties of the rock that is plastic. Can be classified into two types of rock layers bend bend the hood. The curve is a curve of the roof of the boat rocks the hood up. A curve that curves down

2. The faults are classified into three categories - normal faults. A fault with the dip of the plane of motion. The stone ceiling moves down - reverse faults. A fault with the dip of the plane of motion. The ceiling has moved up the rock - along the fault. A fault with the dip of the plane of motion through 90 degrees.

ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา

Geological phenomenon Earthquake is a phenomenon Nas a result of the motion of the Earth. To move the rock to fracture and the energy is transferred rapidly to the adjacent rock layers in the form of seismic waves. Which radiates in all directions from the origin. And through intermediaries, within the world on the earth's surface. Where is the origin of the vibration of the earth, or earthquakes that. Earthquake Center. The position on the earth's surface above the center of an earthquake. Point above the center of an earthquake

Earthquake Center. Can be classified into three levels:

1. Quake was shallow center, less than 70 kilometers from the Earth's surface.
2 earthquake, the moderate center. Depths between 70-300 km
3. Earthquake Center, an in-depth. Depths greater than 300 km.

Seismic has two kinds of waves in the medium is the wave of the primary waves and secondary waves, the surface is a wave that moves slowly over the waves as there are 2 types - Waves of Love waves and particles as vibrations in the plane - wave Rayleigh. The mass media is the wave of vertical movement

The repeated occurrence. Fault with the power of death over the period of the anniversary of the earthquake that occurred at that course and then repeats the same request. Fault is a fault with the power of the earth to move
Volcanoes occur in the vicinity of the Earth's collision. Caused by the eruption of magma. Gas and ash from beneath the earth's crust. Previous bombings have signs such as Land in the area around the volcano caused the vibration noise caused by movement of magma. When the magma to the Earth's surface is called lava.

Penalties and interest of the volcano. - Soil degradation caused by the decay of volcanic rock fragments have a lot of minerals - a tourist attraction - a dig for diamonds. Jewelry penalty - the greenhouse effect - acid rain - can cause tsunami waves

เนื้อหาบทที่1 เรื่อง โครงสร้างโลก

กำเนิดโลก

เมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว กลุ่มก๊าซในเอกภพบริเวณนี้ ได้รวมตัวกันเป็นหมอกเพลิงมีชื่อว่า “โซลาร์เนบิวลา” (Solar แปลว่า สุริยะ, Nebula แปลว่า หมอกเพลิง) แรงโน้มถ่วงทำให้กลุ่มก๊าซยุบตัวและหมุนตัวเป็นรูปจาน ใจกลางมีความร้อนสูงเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิวชั่น กลายเป็นดาวฤกษ์ที่ชื่อว่าดวงอาทิตย์ ส่วนวัสดุที่อยู่รอบๆ มีอุณหภูมิต่ำกว่า รวมตัวเป็นกลุ่มๆ มีมวลสารและความหนาแน่นมากขึ้นเป็นชั้นๆ และกลายเป็นดาวเคราะห์ในที่สุด
ภาพที่1

ภาพที่ 1 กำเนิดระบบสุริยะ
          โลกในยุคแรกเป็นของเหลวหนืดร้อน ถูกกระหน่ำชนด้วยอุกกาบาตตลอดเวลา องค์ประกอบซึ่งเป็นธาตุหนัก เช่น เหล็ก และนิเกิล จมตัวลงสู่แก่นกลางของโลก ขณะที่องค์ประกอบซึ่งเป็นธาตุเบา เช่น ซิลิกอน ลอยตัวขึ้นสู่เปลือกนอก ก๊าซต่างๆ เช่น ไฮโดรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ พยายามแทรกตัวออกจากพื้นผิว ก๊าซไฮโดรเจนถูกลมสุริยะจากดวงอาทิตย์ทำลายให้แตกเป็นประจุ ส่วนหนึ่งหลุดหนีออกสู่อวกาศ อีกส่วนหนึ่งรวมตัวกับออกซิเจนกลายเป็นไอน้ำ เมื่อโลกเย็นลง เปลือกนอกตกผลึกเป็นของแข็ง ไอน้ำในอากาศควบแน่นเกิดฝน น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์ลงมาสะสมบนพื้นผิว เกิดทะเลและมหาสมุทร สองพันล้านปีต่อมาการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ได้นำคาร์บอนไดออกไซด์มาผ่านการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างพลังงาน และให้ผลผลิตเป็นก๊าซออกซิเจน ก๊าซออกซิเจนที่ลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศชั้นบน แตกตัวและรวมตัวเป็นก๊าซโอโซน ซึ่งช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีอุลตราไวโอเล็ต ทำให้สิ่งมีชีวิตมากขึ้น และปริมาณของออกซิเจนมากขึ้นอีก ออกซิเจนจึงมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวโลกในเวลาต่อมา (ภาพที่2)


ภาพที่ 2 กำเนิดโลก
โครงสร้างภายในของโลก
           โลกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 12,756 กิโลเมตร (รัศมี 6,378 กิโลเมตร) มีมวลสาร 6 x 1024 กิโลกรัม และมีความหนาแน่นเฉลี่ย 5.5 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (หนาแน่นกว่าน้ำ 5.5 เท่า) นักธรณีวิทยาทำการศึกษาโครงสร้างภายในของโลก โดยศึกษาการเดินทางของ “คลื่นซิสมิค” (Seismic waves) ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ

ภาพที่ 3 คลื่นปฐมภูมิ (P wave) และคลื่นทุติยภูมิ (S wave)
คลื่นปฐมภูมิ (P wave) เป็นคลื่นตามยาวที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลาง โดยอนุภาคของตัวกลางนั้นเกิดการเคลื่อนไหวแบบอัดขยายในแนวเดียวกับที่คลื่นส่งผ่านไป คลื่นนี้สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ เป็นคลื่นที่สถานีวัดแรงสั่นสะเทือนสามารถรับได้ก่อนชนิดอื่น โดยมีความเร็วประมาณ 6 – 8 กิโลเมตร/วินาที คลื่นปฐมภูมิทำให้เกิดการอัดหรือขยายตัวของชั้นหิน ดังภาพที่3

คลื่นทุติยภูมิ (S wave) เป็นคลื่นตามขวางที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลางโดยอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนไหวตั้งฉากกับทิศทางที่คลื่นผ่าน มีทั้งแนวตั้งและแนวนอน คลื่นชนิดนี้ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น ไม่สามารถเดินทางผ่านของเหลว คลื่นทุติยภูมิมีความเร็วประมาณ 3 – 4 กิโลเมตร/วินาที คลื่นทุติยภูมิทำให้ชั้นหินเกิดการคดโค้ง
ภาพที่ 4 การเดินทางของ P wave และ S wave ขณะเกิดแผ่นดินไหว

          ขณะที่เกิดแผ่นดินไหว (Earthquake) จะเกิดแรงสั่นสะเทือนหรือคลื่นซิสมิคขยายแผ่จากศูนย์เกิดแผ่นดินไหวออกไปโดยรอบทุกทิศทุกทาง เนื่องจากวัสดุภายในของโลกมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน และมีสถานะต่างกัน คลื่นทั้งสองจึงมีความเร็วและทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไปดังภาพที่ 4 คลื่นปฐมภูมิหรือ P wave สามารถเดินทางผ่านศูนย์กลางของโลกไปยังซีกโลกตรงข้ามโดยมีเขตอับ (Shadow zone) อยู่ระหว่างมุม 100 – 140 องศา แต่คลื่นทุติยภูมิ หรือ S wave ไม่สามารถเดินทางผ่านชั้นของเหลวได้ จึงปรากฏแต่บนซีกโลกเดียวกับจุดเกิดแผ่นดินไหว โดยมีเขตอับอยู่ที่มุม 120 องศาเป็นต้นไป

โครงสร้างภายในของโลกแบ่งตามองค์ประกอบทางเคมี นักธรณีวิทยา แบ่งโครงสร้างภายในของโลกออกเป็น 3 ส่วน โดยพิจารณาจากองค์ประกอบทางเคมี ดังนี้ (ภาพที่ 5)
เปลือกโลก (Crust) เป็นผิวโลกชั้นนอก มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นซิลิกอนออกไซด์ และอะลูมิเนียมออกไซด์

แมนเทิล (Mantle) คือส่วนซึ่งอยู่อยู่ใต้เปลือกโลกลงไปจนถึงระดับความลึก 2,900 กิโลเมตร มีองค์ประกอบหลักเป็นซิลิคอนออกไซด์ แมกนีเซียมออกไซด์ และเหล็กออกไซด์

แก่นโลก (Core) คือส่วนที่อยู่ใจกลางของโลก มีองค์ประกอบหลักเป็นเหล็ก และนิเกิล
ภาพที่ 5 องค์ประกอบทางเคมีของโครงสร้างภายในของโลก
ภาพที่ 6 โครงสร้างภายในของโลก

โครงสร้างภายในของโลกแบ่งตามคุณสมบัติทางกายภาพ
           นักธรณีวิทยา แบ่งโครงสร้างภายในของโลกออกเป็น 5 ส่วน โดยพิจารณาจากคุณสมบัติทางกายภาพ ดังนี้ (ภาพที่ 6)
            ลิโทสเฟียร์ (Lithosphere) คือ ส่วนชั้นนอกสุดของโลก ประกอบด้วย เปลือกโลกและแมนเทิลชั้นบนสุด ดังนี้
                     o เปลือกทวีป (Continental crust) ส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิตมีความหนาเฉลี่ย 35 กิโลเมตร ความหนาแน่น 2.7 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
                     o เปลือกสมุทร (Oceanic crust) เป็นหินบะซอลต์ความหนาเฉลี่ย 5 กิโลเมตร ความหนาแน่น 3 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร (มากกว่าเปลือกทวีป)
                     o แมนเทิลชั้นบนสุด (Uppermost mantle) เป็นวัตถุแข็งซึ่งรองรับเปลือกทวีปและเปลือกสมุทรอยู่ลึกลงมาถึงระดับลึก 100 กิโลเมตร
            แอสทีโนสเฟียร์ (Asthenosphere) เป็นแมนเทิลชั้นบนซึ่งอยู่ใต้ลิโทสเฟียร์ลงมาจนถึงระดับ 700 กิโลเมตร เป็นวัสดุเนื้ออ่อนอุณหภูมิประมาณ 600 – 1,000ฐC เคลื่อนที่ด้วยกลไกการพาความร้อน (Convection) มีความหนาแน่นประมาณ 3.3 กรัม/เซนติเมตร
            เมโซสเฟียร์ (Mesosphere) เป็นแมนเทิลชั้นล่างซึ่งอยู่ลึกลงไปจนถึงระดับ 2,900 กิโลเมตร มีสถานะเป็นของแข็งอุณหภูมิประมาณ 1,000 – 3,500ฐC มีความหนาแน่นประมาณ 5.5 กรัม/เซนติเมตร
            แก่นชั้นนอก (Outer core) อยู่ลึกลงไปถึงระดับ 5,150 กิโลเมตร เป็นเหล็กหลอมละลายมีอุณหภูมิสูง 1,000 – 3,500ฐC เคลื่อนตัวด้วยกลไกการพาความร้อนทำให้เกิดสนามแม่เหล็กโลก มีความหนาแน่น 10 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
            แก่นชั้นใน (Inner core) เป็นเหล็กและนิเกิลในสถานะของแข็งซึ่งมีอุณหภูมิสูงถึง 5,000 ?C ความหนาแน่น 12 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร จุดศูนย์กลางของโลกอยู่ที่ระดับลึก 6,370 กิโลเมตร
สนามแม่เหล็กโลก
           แก่นโลกมีองค์ประกอบหลักเป็นเหล็ก แก่นโลกชั้นใน (Inner core) มีความกดดันสูงจึงมีสถานะเป็นของแข็ง ส่วนแก่นชั้นนอก (Outer core) มีความกดดันน้อยกว่าจึงมีสถานะเป็นของเหลวหนืด แก่นชั้นในมีอุณหภูมิสูงกว่าแก่นชั้นนอก พลังงานความร้อนจากแก่นชั้นใน จึงถ่ายเทขึ้นสู่แก่นชั้นนอกด้วยการพาความร้อน (Convection) เหล็กหลอมละลายเคลื่อนที่หมุนวนอย่างช้าๆ ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า และเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็กโลก (The Earth’s magnetic field)
ภาพที่ 7 แกนแม่เหล็กโลก

  อย่างไรก็ตามแกนแม่เหล็กโลกและแกนหมุนของโลกมิใช่แกนเดียวกัน แกนแม่เหล็กโลกมีขั้วเหนืออยู่ทางด้านใต้ และมีแกนใต้อยู่ทางด้านเหนือ แกนแม่เหล็กโลกเอียงทำมุมกับแกนเหนือ-ใต้ทางภูมิศาสตร์ (แกนหมุนของโลก) 12 องศา ดังภาพที่ 7
ภาพที่8 สนามแม่เหล็กโลก


สนามแม่เหล็กโลกก็มิใช่เป็นรูปทรงกลม (ภาพที่ 8) อิทธิพลของลมสุริยะทำให้ด้านที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มีความกว้างน้อยกว่าด้านตรงข้ามดวงอาทิตย์ สนามแม่เหล็กโลกไม่ใช่สิ่งคงที่ แต่มีการเปลี่ยนแปลงความเข้มและสลับขั้วเหนือ-ใต้ ทุกๆ หนึ่งหมื่นปี ในปัจจุบันสนามแม่เหล็กโลกอยู่ในช่วงที่มีกำลังอ่อน สนามแม่เหล็กโลกเป็นสิ่งที่จำเป็นที่เอื้ออำนวยในการดำรงชีวิต หากปราศจากสนามแม่เหล็กโลกแล้ว อนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์และอวกาศ จะพุ่งชนพื้นผิวโลก ทำให้สิ่งมีชีวิตไม่สามารถดำรงอยู่ได้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในบทที่ 3 พลังงานจากดวงอาทิตย์)

เกร็ดความรู้: ทิศเหนือที่อ่านได้จากเข็มทิศแม่เหล็ก อาจจะไม่ตรงกับทิศเหนือจริง ด้วยเหตุผล 2 ประการคือ
 
  • ขั้วแม่เหล็กโลก และขั้วโลก มิใช่จุดเดียวกัน
  • ในบางพื้นที่ของโลก เส้นแรงแม่เหล็กมีความเบี่ยงเบน (Magnetic deviation) มิได้ขนานกับเส้นลองจิจูด (เส้นแวง) ทางภูมิศาสตร์ แต่โชคดีที่บริเวณประเทศไทยมีค่าความเบี่ยงเบน = 0 ดังนั้นจึงถือว่า ทิศเหนือแม่เหล็กเป็นทิศเหนือจริงได้

มาลองทำแบบฝึกหัดดูกันจ้ะ

แบบฝึกหัดบทที่4 เรื่อง ธรณีประวัติ

1.นักวิทยาศาสตร์ทราบได้อย่างไรว่า ครั้งหนึ่งบนโลกมีไดโนเสาร์อาศัยอยุ่
ตอบ  การค้นพบซากดึกดำบรรพ์

2.เพราะเหตุใดเราจึงค้นไม่ค่อยค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในกลุ่มหินอัคนี และหินแปร
ตอบ  เพราะหินอัคนีนั้นคือหินภูเขาที่พ่นออกมาและแข็งตัวลงดังนั้นจึงเป็นการยากที่จะพบฟอสซิล
และหินแปรเป็นที่มีการแปรสภาพโดยความกดดันและความร้อนจึงเป็นเรื่องยากที่จะพบฟอสซิล

3.ซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบสามารถบอกอะไรแก่เราได้บ้าง
ตอบ 1.บอกอายุของสิ่งมีชีวิเจ้าของฟอสซิล
       2.บอกสภาพแวดล้อมในขนาดที่สิ่งมีชีวิตเจ้าของฟอสซิลยังดำรงชีวิตอยู่
       3.บอกลักษณะของสิ่งมีชีวิตเจ้าของฟอสซิล
       4. บอกสาเหตุการตายของสิ่งมีชีวิตเจ้าของฟอสซิล

4.ซากดึกดำบรรพ์ที่ดีและบ่งชี้อายุหินได้ชัดเจนควรเป็นอย่างไร อธิบายพร้อมยกตัวอย่างเท่าที่ทราบ
ตอบ  ควรมีลักษณะสมบูรณ์ใกล้เคียงกับลักษณะตอนที่สิ่งมีชีวิตเจ้าของซากฟอสซิลนั้นยังมีชีวิตอยู่
เช่น ซากฟอสซิลช้างแมมอธชื่อลิวบาที่มีสภาพสมบูรณ์จากกาารถูกแช่แข็งหรือซากแมลง ที่อยู่ในอำพันซึ่งเกิดจากยางไม้

5.การลำดับชั้นหินและซากดึกดำบรรพ์ที่พบ มีความสำคัญอย่างไรกับการศึกษาความเป็นมาของโลก
ตอบ  เพราะซากฟอสซิลและลำดับชั้นหินนั้นสามารถบอกได้ถึงอายุและความเก่าแก่ของเจ้าของซอสซิล
สภาพความเป็นอยู่ในขนาดมีชีวิตรวมไปถึงสาเหตุของการตายของสิ่งมีชีวิตซึ่งล้วนแล้วแต่เชื่อมโยงไปยังสภาพแวดล้อมของโลก ในโดยซึ่งศึกษาจากหลักฐานทางเคมีในชั้นดินเช่น การศึกษาการสูญพันธุ์ของไดโดนเสาร์ไปจากโลกโดย การศึกษาซากฟอสซิลที่มีอายุอยู่ในช่วงนั้น และตรวจสอบชั้นดินในขนาดนั้นเพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริง

6.ถ้านักเรียนสำรวจพบซากดึกดำบรรพ์ของปะการังบนยอดเขาแห่งหนึ่ง นักเรียนมีความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินของภูเขานั้นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ   1)ภูเขาลูกนี้จากอยู่ยกตัวของพื้นดินที่มีสเเหตุมาจากการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี ทำให้ภูเขายกตัวขึ้นมาพ้นน้ำ
         2)เกิดจากการลดลงของระดับน้ำทะเลทำให้ภูเขาใต้สมุทรโผล่มาจากน้ำ จาก 2 กรณี ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ นอนเพราะยังขากหลักฐานอื่นที่ทำให้เชื่อได้ว่าจากกรณีใดกรณีหนึ่ง
                                                 ^.................................................^

แบบฝึกหัดบทที่3 เรื่อง ปรากฎการณ์ทางธรณีวิทยา

1.อธิบายความแตกต่างระหว่างคำต่อไปนี้ "ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว" กับ "จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว"
ตอบ  -ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว คือ ตำแหน่งที่เป็นจุดกำเนิดการไหวสะเทือนของแผ่นดินหรือเกิดแผ่นดินไหว เกิดได้หลาย  จุดในพื้นที่ตามแนวรอยเลื่อน
        -จุดเหนือศูนย์เกอดแผ่นดินไหว คือ ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว จะอยู่ใต้ผิวโลกที่ระดับความลึกต่างๆน ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

2.แนวที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณใดของพื้นโลก ในประเทศไทยมีแนวที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดหรือไม่ อยู่บริเวณใด
ตอบ  ตามแนวรอยต่อ ประเทศมีความสเยงน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเกิดจากการเกิดสั่นไหว ของประเทศข้างเคียงทำให้ได้รับแรงสั่นสะเทือน

3.แมกมาที่แทรกตัวอยู่ตามรอยแตก รอยแยกของหินใต้พื้นผิวโลก เมื่อแข็งตัวจะกลายเป็นหินชนิดใด
ตอบ  หินไรโอไลต์,หินแอนดีไซต์,หินบะซอลต์,หินทัฟฟ์,หินแอกโกเมอเรต,หินพัมมิซ,หินสคอเรีย,หินออบซีเดียน เป็นต้น

4.อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว
ตอบ  การเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี ทำให้หินเปลี่ยนลักษณะเลื่อนตัวแตกตัว และถ่ายโอนพลังงาน อย่างรวดเร็วให้กับพื้นที่ติดกันในรูปของคลื่นไหวสะเทือน

5.ท่านคิดอย่างไรจากคำกล่าวที่ว่า"ภูเขาไฟเป็นเสมือนหน้าต่างที่สามารถมองเห็นถึงภายในของโลก"
ตอบ  เป้นการเปรียบเทียบถึงการทีเราสารมารถนำวัตถุที่ภูเขาไฟพ่นนำออกมาศึกษา และองค์ประกอบของหินสารถนำมาวิเคราะห์ได้

6.บอกประโยชน์และโทษของการเกิดแผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิด
ตอบ  ประโยชน์ของภูเขาไฟระเบิด
           1) ทำให้เกิดแผ่นดินใหม่
           2) แร่ธาตุมหาศาลทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์บนพื้นดิน
        โทษของภูเขาไฟ
          1) สร้างความเสียหายอย่างหนักต่อชีวิตและทรัพย์ต่อพื้นที่โดยรอบ
          2) ภูเขาไฟทำให้เกิดควันพิษและเขม่าปริมาณมหาศาลขึ้นชั้นบรรยากาศทำให้โลกเสียสมดุล

7.อธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ "ภูเขาไฟมีพลัง" และ"คาบอุบัติซ้ำ"
ตอบ    ภูเขาไฟมีพลัง หมายถึง ภูเขาไฟที่ยังสามารถประทุขึ้นได้อีก
          คาบอุบัติซ้ำ  หมายถึง ระยะเวลาครบรอบของแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้น ณ ที่ใดที่หนึ่ง
                                              ^......................................^

แบบฝึกหัดบทที่2 เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง

1.หลักฐานที่แสดงว่าทวีปต่างๆเคยเชื่อมต่อกันมีอะไรบ้าง
ตอบ  หลักฐานรูปร่างของทวีปที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ , การพบซากดึกดำบรรพ์ชนิดเดียวกัน ,การพบกลุ่มหินประเภท และ อายุเดียวกัน , แนวเทือกเขาที่มีลักษณะเหมือนกันและต่อกันได้ การพบหินอายุเดียวกันที่เกิดจากการสะสมตัวตะกอนธารน้ำแข็ง

2.นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของทวีปอย่างไร ให้อธิบายและยกตัวอย่างหลักฐานหรือข้อมูลที่นัหวิทยาศาสตร์ใช้เป็นเหตุผลสนับสนุน
ตอบ  หลักฐานสันเขาใต้สมุทร และร่องลึกใต้สมุทร

3.เพระเหตุใดปรากฏการณ์ภูเขาไฟระเบิดและแผ่นดินไหว มักเกิดตามเขตมุดตัวของแผ่นธรณี
ตอบ  บริเวณที่มีการมุดตัวของแผ่นธรณี หินริเวณดังกล่าวจได้รับแรงมากระทำตลอดเวลาทำให้หินตอบสนองต่อแรง โดยเปลี่ยนลักษณะและปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปคลื่นไหวสะเทือนทำให้เกิดแผ่นดินไหว

4.รอยคดโค้ง รอยแตก รอยเลื่อนในหินมีลักษณะเหมือนกันหรือไม่ และเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ  รอยคดโค้งในชั้นหิน เป็นระนาบคดโค้งที่พบในชั้นหิน เป็นผลเนื่องจากชั้นหินที่มีสมบัติเป็นพลาสติก ตอบสนองด่อแรงที่มากระทำโดยการเปลี่ยนลักษณะ

5.จากแนวการเลื่อนที่ของแผ่นธรณีต่างๆ จะมีผลต่อภูมิประเทศของโลกในอนาคตอย่างไร
ตอบ  การที่แผ่นธรณีอินเดีย ออสเตรเลียชนกับแผ่นดินยูเรเซีย (แผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากัน) ทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัย และเทือกเขาหิมาลัยมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆๆ

                               ^.............................^

แบบฝึกหัดบทที่1 เรื่อง โครงสร้างโลก

1.หินต้นกำเนิดของแมกมาส่วนใหญ่อยู่บริเวณชั้นเนื้อโลกตอนบน ให้นักเรียนบอกประเภท และส่วนประกอบของหินต้นกำเนิดแมกมา
ตอบ หินอัลตร้า ซึ่งเป็นหินที่มีซิลิก้าน้อยกว่าน้ำหนักร้อยละ 44 โดยน้ำหนักประกอบด้วยแร่แมกนีเซียม

2.คลืน P และ คลื่น S มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  คลืนP สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางได้ทุกสถานะ มีความเร็วมากกว่าคลื่น s 
        คลืนS สามารถเคลือนที่ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น

3.เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง จะเกิดเขตอัพคลืน S (S wave shadow zone) ครอบคลุมผิวโลกในบริเวณกว้าง ให้นักเรียนใช้ความรู้เกี่ยวดับสมบัติของคลื่นไหวสะเทือนและโครงสร้างโลก อธิบายปรากฎการณ์ดังกล่าว
ตอบ คลื่น S จะไม่สามรถเคลื่อนที่ผ่านชั้นแก่นโลกส่วนนอกได้ เนื่องจากแก่นโลกชั้นนอก มีสถานะของเหลว ดังนั้นเมื่อแผ่นดินไหว ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง จะเกิดเขตอัพคลื่น s ที่ครอบคลุมผิวโลก ที่ครอบคลุมผวดลกที่กว้าง คือ เกิดขึ้นที่ตำแหน่ง103 องศา วัดจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหวบริเวณใดบริเวณหนึ่ง
                   
                                    ^  ........................  ^